อำเภอ พรหมคีรี

1. ชื่ออำเภอ

อำเภอ พรหมคีรี


2. ข้อมูลทั่วไป/ประวัติความเป็นมา

      ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงมีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาล ร่อนพิบูลย์เป็นแขวงหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นในมณฑลนครศรีธรรมราช โดยประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครอง จากแขวงเป็นอำเภอ 

       อำเภอร่อนพิบูลย์ ได้ชื่อมาจาก “บ้านร่อน” ด้วยที่ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพร่อนแร่ขาย เมื่อมีการจัดตั้งแขวงขึ้น จึงได้ใช้ชื่อว่า “ร่อนพิบูลย์” และยังมีความหมายบ่งบอกถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยสินแร่ ซึ่งเดิมทีการทำเหมืองแร่เป็นประเภทเหมืองขุดเจาะ

       ครั้นถึง พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ ทางราชการได้จัดระเบียบการปกครองส่วนท้องที่ของเมืองนครศรีธรรมราชเสียใหม่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 โดยแบ่งเขตปกครองเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลำพูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอกลาย

       พ.ศ. 2466 แยกพื้นที่ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง และตำบลเคร็งจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชะอวด และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอร่อนพิบูลย์

       พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลควนชุม แยกออกจากตำบลควนพัง ตั้งตำบลเสาธง แยกออกจากตำบลหินตก ตั้งตำบลวังอ่าง แยกออกจากตำบลท่าประจะ ตั้งตำบลเคร็ง แยกออกจากตำบลท่าเสม็ด

       พ.ศ. 2492 โอนพื้นที่หมู่ที่ 6 (ในตอนนั้น) ของตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่

        พ.ศ. 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นอำเภอชะอวด

        พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์

        พ.ศ. 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น

        พ.ศ. 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาชุมทอง ในท้องที่หมู่ที่ 1, 2 ตำบลควนเกย

        พ.ศ. 2523 ตั้งตำบลทางพูน แยกออกจากตำบลเสาธง

        พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลนาหมอบุญ แยกออกจากตำบลสามตำบล

        พ.ศ. 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหินตก ในท้องที่หมู่ที่ 3, 4, 5, 6 และหมู่ที่ 9 ตำบลหินตก

        พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลทุ่งโพธิ์ แยกออกจากตำบลควนเกย ตั้งตำบลควนหนองคว้า แยกออกจากตำบลควนเกย ตำบลควนพัง และตำบลควนชุม และโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลควนหนองคว้า จากอำเภอร่อนพิบูลย์ ไปขึ้นกับอำเภอจุฬาภรณ์

         พ.ศ. 2537 แยกพื้นที่ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด จากอำเภอชะอวด และตำบลควนหนองคว้า ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลนาหมอบุญ ตำบลสามตำบล จากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวโรกาสที่ทรงมีพระชันษาครบ 3 รอบ ในปีพุทธศักราช 2536

         พ.ศ. 2539 แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวงจากอำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูนจากอำเภอร่อนพิบูลย์ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

          วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร่อนพิบูลย์ สุขาภิบาลเขาชุมทอง และสุขาภิบาลหินตก เป็นเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ เทศบาลตำบลเขาชุมทอง และเทศบาลตำบลหินตกตามลำดับ

         วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลควนเกยรวมกับเทศบาลตำบลเขาชุมทอง

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์

3. ที่ตั้งและอาณาเขต

        อำเภอร่อนพิบูลย์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ดังนี้ 

  • ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอลานสกาและอำเภอพระพรหม

  • ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

  • ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอชะอวดและอำเภอจุฬาภรณ์

  • ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอทุ่งสง

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์

ร่อนพิบูลย์
ภาพจาก วิกิพีเดีย

4. ข้อมูลด้านสังคม

     4.1 เขตการปกครอง (หมู่บ้าน/ตำบล) ข้อมูลประชากร

อำเภอร่อนพิบูลย์บางเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 57 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตำบลร่อนพิบูลย์ (Rom Phipun)

มีหมู่บ้านจำนวน 16 หมู่บ้าน

2. ตำบลหินตก (Hin Tok)

มีหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน

3. ตำบลเสาธง(Sao Thong)

มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน

4. ตำบลควนเกย (Khuan Koei)

มีหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน

5. ตำบลควนพัง (Khuan Phang)

มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน

6. ตำบลควนชุม (Khuan Chum)

มีหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่บ้าน

ร่อนพิบูลย์
ภาพจาก วิกิพีเดีย

     4.2 ข้อมูลประชากร

จำนวน 61,614 คน

*** หมายเหตุ*** ข้อมูลสถิติประชากรและบ้านพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 1 ถึง 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.43 น. 

(ที่มา : https://www.pokkrongnakhon.com/datacenter/detail.php?news_id=6855)

5. คำขวัญอำเภอ

อุดมสินแร่ เมืองแม่เศรษฐี

ผลไม้พันธุ์ดี มีปศุสัตว์

เกจิหลวงพ่อ ใบพ้อสานพัด

6. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอ

     6.1 ที่ตั้งและขนาด

 อำเภอร่อนพิบูลย์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยทางรถยนต์ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 12 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีทางหลวงหมายเลข 403 ตอนอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ ตัดผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอ 

     6.2 อาณาเขต

ที่ตั้งอำเภอร่อนพิบูลย์มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ดังนี้ 

ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอลานสกาและอำเภอพระพรหม

ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอชะอวดและอำเภอจุฬาภรณ์

ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอทุ่งสง

(สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์)

     6.3 ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  1. บริเวณเทือกเขา ได้แก่ บริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกติดเทือกเขานครศรีธรรมราชตลอดแนว ได้แก่ พื้นที่ตำบลควนเกย ตำบลร่อนพิบูลย์ และทิศเหนือติดเทือกเขาหลวง ได้แก่พื้นที่บางส่วนของตำบลร่อนพิบูลย์และตำบลหินตก
  2. บริเวณที่เป็นที่ราบตอนกลาง เป็นพื้นที่ส่วนของตำบลควนเกย ตำบลร่อนพิบูลย์ ตำบลหินตก ตำบลควนพัง ตำบลเสาธง และตำบลควนชุม
  3. บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นที่ราบลุ่มและดินพรุ คือ พื้นที่บางส่วนของตำบลควนพังและตำบลเสาธง

     6.4 ภูมิอากาศ

        ลักษณะภูมิอากาศในหนึ่งปีของอำเภอร่อนพิบูลย์เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีอากาศร้อนจัดในช่วงฤดูร้อนและฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน
          – ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – สิงหาคม
          – ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน – ธันวาคม
          – ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

(สืบค้นจาก https://www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/ronpibool/home01.html)

     6.5 การคมนาคม

  สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถไฟและรถยนต์

7. การนับถือศาสนาและวัฒนธรรม

ด้านศาสนา

8. ขนบธรรมเนียมประเพณี (ศิลปะการแสดง/ประเพณีท้องถิ่น)

8.1 ศิลปะการแสดง

        โนราคล้าย ขี้หนอน (นายคล้าย พรหมเมศ) โนราผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หมื่นระบำบันเทิงชาตรี” เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2396 ที่บ้านคลองเขเปล ตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช หัดโนรากับโนราเดช บ้านหูด่าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสมรสกับนางปราง มีบุตร 2 คน คือ นายคล้อย พรหมเมศ และนางแคล้ว (พรหมเมศ) พิบูลย์ โนราคล้าย พรหมเมศ ได้ออกโรงรำโนราอยูหลายปีจนมีชื่อเสียงเฉพาะท่ารำและการรำที่สวยงามของท่าน คือ “ท่าตัวอ่อน” และ “ท่ากินนรเลียบถ้ำ” จึงทำให้มีสมญานามต่อมาว่า “คล้ายขี้หนอน” (คำว่า “ขี้หนอน” เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง “กินนร” ) ดังนั้นคำว่า “โนราคล้ายขี้หนอน” ก็คือ “โนราคล้ายกินนร” นั่นเอง ที่เรียกกันเช่นนั้นเพราะว่าท่านชื่อคล้ายและรำโนราสวยงามราวกับกินนร

       โนราคล้ายขี้หนอนเป็นศิลปินโนราคนแรกและคนเดียวเท่านั้นที่มีบรรดาศักดิ์ เนื่องด้วยทางการแสดงโนราโดยตรง ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2451 ว่าหมื่นระบำบันเทิงชาตรี แต่คนทั่วไปในสมัยนั้นมักเรียกว่า “หมื่นระบำ” หรือ “หมื่นระบำบรรเลง” หมื่นระบำฯ มีศิษย์โนราในจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น โนราเย็น โนราครื้น แห่งอำเภอฉวาง โนราไข่ร็องแร็ง บ้านทุ่งโพธิ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอจุฬาภรณ์) โนราคลัน บ้านเตาปูน อำเภอร่อนพิบูลย์ (ปัจจุบันอำเภอจุฬาภรณ์) โนราคลี่ ชูศรี (พระครูชั้นประทวน ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมภูผา หรือวัดดอนกลาง) ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ ฯลฯ โนราคล้ายขี้หนอนมีคู่แข่งที่สำคัญในสมัยนั้นคือ คณะโนราช่วยรามสูร คณะโนราเย็นใหญ่ และคณะโนราคล้ายขี้หมิ้น เป็นต้น

        หมื่นระบำบันเทิงชาตรี หรือหมื่นระบำ หมื่นระบำบรรเลง โนราคล้ายขี้หนอนของชาวบ้านชาวเมืองในสมัยนั้น นับเป็นศิลปินโนราผู้อาวุโสของจังหวัดoครศรีธรรมราช โดยได้เป็นโนราคนแรกที่ได้นำเอาศิลปะการร่ายรำแบบโนราไปแพร่หลายในเมืองหลวงยุคนั้นและยังได้รำถวายหน้าพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดินถึงสองพระองค์ จนทางการเห็นความสำคัญของโนราจึงได้บันทึกและถ่ายภาพไว้ศึกษา และรับไว้เป็นศิลปะการแสดงของชาติในเวลาต่อมา หมื่นระบำบันเทิงชาตรี หรือโนราคล้ายขึ้หนอน เป็นโนราที่มีชื่อเสียงของเมืองนครศรีธรรมราช  มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ท่านได้มีชีวิตอยู่ถึงสี่แผ่นดิน คือ เกิดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สิริรวมอายุได้ 80 ปี

   (จากโนราคล้ายขี้หนอนถึงโนรามดลิ้น. สืบค้นจาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/358/1/จากจากโนราคล้ายขี้หนอนถึงโนรามดลิ้น.pdf)

8.2 ประเพณีท้องถิ่น

  1. ประเพณีชักพระวัดร่อนนา (พระแม่เศรษฐี)

       ประเพณีประจำปีของชาวร่อนพิบูลย์ ประเพณีชักพระของวัดร่อนนา (พระแม่เศรษฐี) แตกต่างจากที่อื่น คือ เป็นเรือพระที่ไม่มีล้อ แต่ชาวร่อนพิบูลย์ อาศัยความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจถึงสามารถทำให้เรือพระเคลื่อนไปได้ พระแม่เศรษฐีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระแม่เศรษฐีวัดร่อนนา พระคู่บ้านคู่เมืองเป็นพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ พระที่พึ่งของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง โดยแต่ละวันจะมีประชากรทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบไหว้ขอพรต่อพระแม่เศรษฐี บางส่วนที่บนบานไว้สำเร็จสมประสงค์จะนำดอกไม้ธูปเทียนปิดทองคำเปลวและจุดลูกประทัดแก้บนจนเสียงดังกระนั่นจนเป็นกิจประจำวัน 

ประวัติความเป็นมา  : ชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า อานิสงค์แห่งการลากพระทำให้ฝนตกตามฤดูกาล ชาวนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มีอาชีพเกษรกรรม ต้องการไร่นาที่อุดมสมบูรณ์ ผลผลิตเพิ่มพูน  การที่ฝนตกตามฤดูกาลจึงเป็นเรื่องสำคัญจนเกิดคติความเชื่อว่า เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก จึงมีสัญลักษณ์พญานาคในการลากพระ เพราะเชื่อว่าให้น้ำและเชื่อกันว่าหากใครได้ลากพระทุกปี จะเป็นผู้ที่ได้รับบุญกุศลเป็นอย่างมากและส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

ช่วงเวลา : วันลากพระทำกันในวันออกพรรษาของทุกปี

แนวคิด/คุณค่า : เป็นประเพณีให้ความสำคัญกับสังคมเกษตรกรรม เป็นการปฏิบัติตามความเชื่อ และ3. เกิดความสนุกสนาน

(Mokkalana. (2562). วันออกพรรษา ประเพณีชักพระ “วัดร่อนนา” (พระแม่เศรษฐี) อ.ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://www.mokkalana.com/6181/)

 

9. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (อาชีพหลัก/อาชีพเสริม/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านเศรษฐกิจ

     ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรเป็นหลัก คือ การทำสวนยาง สวนกาแฟ สวนโกโก้ และการทำนา เนื่องจาการปลูก ยางพารามาก ดังนั้นจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแปรรูปยางดิบต่าง ๆ เช่น โรงรมยาง โรงงานผลิต แอร์รายซีส เพื่อรับรองผลผลิต อำเภอนาบอนยังเป็นที่ตั้ง ขององค์การสวนยางนาบอนที่สำคัญของการยาง ในเขตนครศรีธรรมราช สามารถผลิตยางออกไปจำหน่ายในต่างประเทศปีละมากกว่า 250,000 ตัน ทำรายได้แก่ประเทศปีละประมาณ 9,000 ล้านบาท

  9.1 การเกษตร

      อาชีพหลัก ประชากรในอำเภอร่อนพิบูลย์ประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้

      การเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ นาข้าว ยางพารา พืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ปาล์มน้ำมัน ไร่นาส่วนผสม เป็นต้น 

      การปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ/ไก่พื้นเมือง/ไก่ไข่ สุกร เป็ดเทศ เป็ดไข่ โคพื้นเมือง เป็ดเนื้อ แพะ โคนม ห่าน กระบือ แกะ เป็นต้น 

      การประมงโดยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลา กบ เป็นต้น

      การอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินการและประกอบการ เช่น โรงงานโม่หิน โรงงานปูนขาว โรงงานผลิตท่อซีเมนต์ โรงงานแปรรูปไม้เพื่อประดิษฐ์กรรม โรงงานแปรรูปไม้ยาง โรงงานผสมยางแอสฟัลล์ เหมืองแร่ เป็นต้น และอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น ผลิตพัดใบพ้อ ผลิตเครื่องจักรสาน ผลิตลูกจันทร์

(อำเภอร่อนพิบูลย์. สืบค้นจาก https://www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/ronpibool/home06.html)

  9.2 วิสาหกิจชุมชน
         วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลูกจันทน์เทศบ้านร่อนนา หมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เส้น ลูกจันทน์หยี ลูกจันทน์แช่อิ่ม ลูกจันทน์กวน  (ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก https://smce.doae.go.th/product_detail.php?smce_id=580130110002&ps_id=2439) 
        วิสาหกิจชุมชนต่อแอนด์ตั๊กมาร์เก็ตติ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากสินค้าเกษตร (ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจากhttps://smce.doae.go.th/product_detail.php?smce_id=880130110010&ps_id=8153)

       วิสาหกิจชุมชนไม้หลาฟาร์ม หมู่ที่ 4 ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ น้ำมันเหลืองกระทือ ยาดมกระทือ ยาหม่องกระทือ สเปรย์กระทือ ผลิตภัณฑ์สกัดกระทือ น้ำพริกสมุนไพรกระทือ (วิสาหกิจชุมชนไม้หลาฟาร์ม. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100063585366705)

     วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้คลุ้มบ้านปรายราง หมู่ที่ 10 ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ จักสานไม้คลุ้ม (ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก https://smce.doae.go.th/productcategory/productpopup.php?ps_id=8157&smce_id=580130210022)

       วิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านทำเนียบ/กลุ่มทอผ้าบ้านทำเนียบ ตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ผ้าทอบ้านทำเนียบ (วิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านทำเนียบ/กลุ่มทอผ้าบ้านทำเนียบ. สืบค้นจาก https://www.otoptoday.com/view_product.php?product_id=68544)

     9.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลควนพัง ได้แก่

      – ด้านศิลปกรรม ได้แก่ การเล่นหนังตะลุง

      – ด้านแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวดแผนโบราณ

      – ด้านหัตถกรรม ได้แก่ การจักสาน การจักสานกระด้ง

     – ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเลี้ยงปลานิลในกระชัง โรงเรียนวัดสุวรรณฆิต

     – ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การทอผ้า

     – ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงสุกร ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัด            สุวรรณฆิต (ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นควนพัง. สืบค้นจาก https://www.khuanpang.go.th/datacenter/p3.php)

     2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลหินตก ได้แก่ 

  • ด้านเกษตร ได้แก่ การเกษตรผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ด การเลี้ยงโคขุน       การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงผึง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  • ด้านหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การจัดดอกไม้ การจัดผ้าในงานพิธีต่าง ๆ  ร้อยมาลัย การทำกรงนก การทำเหรียณโปรยทาน การตีเหล็ก การจักสานเส้นพลาสติก การจักสานไม้คลุ้ม การเย็บจากใบสาคู แกะสลัก
  • ด้านอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร และยารักษาโรค ได้แก่ การทำขนมพื้นบ้าน (เดือนสิบ) การทำขนมทองม้วน อาหารพื้นบ้าน การผลิตเครื่องแกง การแปรรูปอาหาร (เบเกอรี่ ผักกาดดอง ขนมไทย และสมุนไพร)
  • ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ หมอสมุนไพร หมอกระดูก นวดแผนไทย

(ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นหินตก. สืบค้นจาก https://www.hintok.go.th/datacenter/detail.php?news_id=2507)

    3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลร่อนพิบูลย์
ได้แก่ 

    – ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ หมอสมุนไพร

    – ด้านความเชื่อทางศาสนา ได้แก่ พิธีกรทางศาสนา หมอดู (โหราศาสตร์) ตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ 

    – ด้านศิลปกรรม หัตถกรรม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ดนตรีไทย นายหนังตะลุง (หนังหมี)              การเย็บจาก การจักสาน แปรรูปจันทน์เทศ การทำกะปิ การทำกุ้งส้ม ขนมไทย

(ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลร่อนพิบูลย์. สืบค้นจาก https://www.ronpiboon.go.th/datacenter/detail.php?news_id=565)
     4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเสาธง ได้แก่ 

     – ด้านแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวดแพทย์แผนโบราณ

     – ด้านหัตถกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ ช่างแกะหนังตะลุง ช่างทำไซจับปลา
     5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลควนเกย ได้แก่ 

       – ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ หมอรักษาพิษงู หมอสมุนไพร การนวดแพทย์แผนไทย

       – ด้านหัตถกรรม ได้แก่ หนังตะลุง ช่างไม้
      6. ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลควนชุม ได้แก่ 

         – ด้านหัตถกรรม ได้แก่ ช่างผลิตอิฐมอญ

        – ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวดแผนไทย

(ห้องสมุดประชาชนอำเภอร่อนพิบูลย์. (ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://sites.google.com/dei.ac.th/ronpibon-library/ภมปญญาทองถน?pli=1)

10. สถานที่สำคัญและการท่องเที่ยว

วัดร่อนนา (แม่เศรษฐี)

        แม่เศรษฐี สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองร่อนพิบูลย์ เป็นวัดเก่าแก่โบราณมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าวัดร่อนนาเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน คือ พระพุทธรูปอุ้มบาตรปาง พระร่วง เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวร่อนพิบูลย์และจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ องค์พระแม่เศรษฐีอายุประมาณ 700-800 ปี 

        วัดร่อนนา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หากขับมาบนถนนพหลโยธินให้เลี้ยวเข้ามาทางฝั่งสถานีตำรวจร่อนพิบูลย์ ตรงเข้ามาประมาณเกือบ 2 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านร่อนนาแล้วขับตรงมาจนสุดทางจะพบกับวัดตั้งอยู่

       เวลาเปิด  เปิดให้คนเข้านมัสการการองค์แม่เศรษฐีตั้งแต่เวลา 6:00-18:00 น. ของทุกวัน            คนส่วนใหญ่นิยมมากราบไหว้ขอพรให้เกิดความสิริมงคลแก่ครอบครัว และยังมีคนมาขอลูกกับแม่เศรษฐีและสมหวังดังปรารถนาไปแล้วมากมาย หากใครสมหวังมักจะนำรูปถ่ายมาถวายให้เป็นลูกของเจ้าแม่อีกด้วย (Trip.com. (ม.ป.ป.). วัดร่อนนา (แม่เศรษฐี). สืบค้นจาก https://th.trip.com/moments/detail/nakhon-si-thammarat-1447082-14502709)

เขารามโรม

เขารามโรมเป็นยอดเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 986 เมตร มีเทือกเขาทีสลับซับซ้อนทำให้มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสามารถมองเห็นได้ 360 องศา มีสภาพเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์มาก มีพันธ์ไม้เฟิร์นล้านปี มหาสะดำ ดอกไม้นานาพันธ์ และสัตว์ป่านานาชนิดเต็มไปทั่วพื้นที่ มีถนนพื้นแข็งถาวรที่รถยนต์เข้าถึงได้สะดวก สามารถมองเห็นทะเลหมอกพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและที่สำคัญเป็นยอดเขาที่สามารถมองเห็นชายทะเลแหลมตะลุมพุกไปถึง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอพระพรหม อำเภอทุ่งสง และยอดเขาเหมนได้อย่างเด่นชัด เขารามโรมเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ในอำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งเป็นอำเภอที่อยู่ระหว่างอำเภอเมืองนครศรีฯกับอำเภอทุ่งสงเส้นทางรถยนต์ที่ผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ คือ ทางหลวงหมายเลข 403 ส่วนทางขึ้นเขารามโรม จะต้องเข้าผ่านไปทางตลาดสดร่อนพิบูลย์แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปทาง บ้านสวนจันทร์จนถึงสี่แยกบ้านเถลิงแล้วเลี้ยวซ้ายจะสังเกตุป้ายทางขึ้นเขารามโรมอีก 9 กม. เป็นถนนคอนกรีตจนถึงเขารามโรม ซึ่งจะสังเกตุเห็นเสาอากาศส่งของสถานีโทรทัศน์อยู่ด้านบนส่วนความสูงของเขารามโรมอยู่ที่ประมาณ 986 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 19-26 องศาเซนติเซียดตลอดทั้งปี  อากาศหนาวที่สุดอยู่ประมาณเดือน ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์

ร่อนพิบูลย์

การเดินทาง

เดินทางจาก อำเภอทุ่งสง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แยกซ้ายมือข้างที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์และเดินทางต่อไปตามเส้นทางยอดเขารามโรม ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร

ร่อนพิบูลย์

จุดชมวิว

เป็นจุดชมทิวทัศน์บนยอดเขาสูงโดยสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 966 เมตรและ มีถนนพื้นแข็งถาวรที่รถยนต์เข้าถึงได้สะดวก สามารถมองเห็นทะเลหมอกพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า และที่สำคัญเป็นยอดเขาที่สามารถมองเห็นชายทะเลแหลมตะลุมพุกไปถึง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอพระพรหม อำเภอทุ่งสง และยอดเขาเหมนได้อย่างเด่นชัด

ข้อมูลอ้างอิง

การปกครองส่วนภูมิภาค. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์

คำขวัญประจำอำเภอ. สืบค้นจาก https://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/vision_dis.php

จากโนราคล้ายขี้หนอนถึงโนรามดลิ้น. สืบค้นจาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/ 123456789/358/1/จากจากโนราคล้ายขี้หนอนถึงโนรามดลิ้น.pdf

ที่ตั้งและอาณาเขต. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์

ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2565). สถิติจำนวนประชากร และครัวเรือน (บ้าน) จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ เดือนพฤศจิกายน 2565. สืบค้นจาก https://www.pokkrongnakhon.com/datacenter/detail.php?news_id=6855

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นควนพัง. สืบค้นจาก https://www.khuanpang.go.th/datacenter/p3.php

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลร่อนพิบูลย์. สืบค้นจาก https://www.ronpiboon.go.th/datacenter/detail.php?news_id=565

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นหินตก. สืบค้นจาก https://www.hintok.go.th/datacenter/detail.php?news_id=2507

บ้านม่อนแคมปิ้ง ที่พักแนวแคมปิ้งริมน้ำ. สืบค้นจาก https://www.decemblr.com/ban-mon-camping-nst/ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอร่อนพิบูลย์

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก

https://smce.doae.go.th/product_detail.php?smce_id=580130110002&ps_id=2439

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก https://smce.doae.go.th/productcategory/productpopup.php?ps_id=8157&smce_id=580130210022

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นจาก https://smce.doae.go.th/product_detail.php?smce_id=880130110010&ps_id=8153)

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอบ้านทำเนียบ/กลุ่มทอผ้าบ้านทำเนียบ. สืบค้นจาก https://www.otoptoday.com/view_product.php?product_id=68544

วิสาหกิจชุมชนไม้หลาฟาร์ม. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100063585366705

ร่อนพิบูลย์. สืบค้นจาก https://www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/ronpibool/home01.html

ห้องสมุดประชาชนอำเภอร่อนพิบูลย์. (ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://sites.google.com/dei.ac.th/ronpibon-library/ภมปญญาทองถน?pli=1

อำเภอร่อนพิบูลย์. สืบค้นจาก https://www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/ronpibool/home06.html

Mokkalana. (2562). วันออกพรรษา ประเพณีชักพระ “วัดร่อนนา” (พระแม่เศรษฐี) อ.ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://www.mokkalana.com/6181/

Thailand Tourism Directory. (ม.ป.ป.). ยอดเขารามโรม. สืบค้นจาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/21145

Trip.com. (ม.ป.ป.). วัดร่อนนา (แม่เศรษฐี). สืบค้นจาก https://th.trip.com/moments/detail/nakhon-si-thammarat-1447082-14502709

Thailand Tourism Directory. (ม.ป.ป.). ศูนย์เรียนรู้คอกม้ารามโรม . สืบค้นจาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/21306

 

ชื่อผู้บันทึก นางสาวรัตนา วรรณทอง (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)

Visits: 66